Tuesday, August 6, 2019

หัวใจที่แท้จริงของ Agile จากหนึ่งผู้คิดค้น Agile Manifesto


ในปี 1994 วิศวกรซอฟแวร์ (Software Engineer)

ชายผู้นั้นพบปัญหาการทำงานพัฒนาซอฟแวร์ในสมัยนั้น เรียกการทำงานนั้นว่า Waterfall เป็นการทำงานที่แต่ละฝ่ายทำงานแต่ละส่วนให้เสร็จและส่งต่อมอบอีกฝ่ายต่อเนื่องเป็นขั้นเป็นตอนเหมือนน้ำตก จนกระทั่งส่งมอบงานให้ลูกค้า
.
.
7 ปีต่อมาในปี 2001
ชายหนุ่มและเพื่อนๆทั้ง 17 คน ได้ไปเล่นสกีที่สกีรีสอร์ทแห่งหนึ่งในรัฐยูทาห์ คืนนั้นหลังจากที่ออกกำลังกายเสร็จด้วยเหน็ดเหนื่อย พวกเขาคุยและหาวิธีการพัฒนาซอฟแวร์ให้ดึขึ้นกว่าเดิม
.
.
นั่นแหละครับ จุดกำเนิดคำแถลงการณ์อไจล์ (Agile Manifesto) ได้ถือกำเนิดขึ้น
.
.
Agile Manifesto มีด้วยกันอยู่ 4 ข้อ
1. ให้ความสำคัญกับคนและการปฏิสัมพันธ์ มากกว่า ขั้นตอนและเครื่องมือ
2. ให้ความสำคัญกับซอฟแวร์ (ผลงาน) ที่นำไปใช้งานได้จริง มากกว่า เอกสารที่ครบถ้วนสมบูรณ์
3. ให้ความสำคัญกับการร่วมมือการทำงานกับลูกค้า มากกว่า การต่อรองมากกว่าที่จะทำตามสัญญา
4. ตอบรับการเปลี่ยนแปลง มากกว่า แผนงานที่วางไว้

ถึงแม้ว่าเราจะเห็นความสำคัญที่กล่าวไว้ด้านขวามือ แต่เราให้ความสำคัญกับด้านซ้ายมากกว่า
.
.
ระยะเวลา 18 ปีนับตั้งแต่ Agile ถือกำเนิดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการพัฒนาซอฟแวร์แบบเดิมที่เราเรียกว่า Waterfall และชายหนุ่มคนนั้นคือ แอรี แวน เบนเนคุ่ม หนึ่งในผู้คิดค้น Agile Manifesto (1 ใน 17 คน)
.
.
บทความด้านล่าง เกิดขึ้นจาก THE STANDARD ได้สัมภาษณ์คุณแอรี แวน เบนเนคุ่ม (Arie van Benekum) ทางโทรศัพท์เป็นเวลา 30 นาที หลังจากมาพูดในงาน Beyond Agile by KBTG (15 June 2019)
.
.
เราลองมาฟังหัวใจที่แท้จริงของ Agile จากหนึ่งในผู้คิดค้น Agile Manifesto กันครับ
.
.
เหตุผลที่ทำไมเราต้องใช้ Agile?

คุณยังจำบริษัท Kodak, Nokia, Blackberry ได้ไหมครับ เกิดอะไรขึ้นกับบริษัทเหล่านั้น?
ผมอยากเล่าเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับผม ผมเป็นคนเดินทางบ่อยๆ ระหว่างอยู่ที่สนามบิน ในเวลาที่รอขึ้นเครื่องบินนึกขึ้นมาได้ว่าอยากสั่งสินค้าให้ไปส่งไว้ที่บ้าน ก็เลยเข้าเว็บไซด์เพื่อที่จะซื้อสินค้า ขณะที่กำลังจะกดปุ่มจ่ายเงิน หน้าจอมือถือแสดงข้อความ Error....เสี้ยววินาทีหลังจากนั้นเขาตัดสินใจเปลี่ยนไปสั่งสินค้าจากเว็บไซด์อื่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้แอรี่บอกว่า ในปัจจุบันพวกเราสามารถเปลี่ยนใจจากการซื้อสินค้าได้เพียงไม่กี่วินาที โลกยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีตัวเลือกมากมาย

แอรี่กล่าวต่อว่า This is what agile is all about. ทำทุกอย่างให้ตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ได้ แม้ว่ารากเหง้าจะมาจากการแก้ปัญหาในโลกของการพัฒนา Software แต่ในปัจจุบันถูกใช้กับทุกๆองค์กร

คำว่า Agile จริงๆแล้วมันแปลว่าอะไรกันแน่?

มันไม่ใช่ขั้นตอนการทำงาน(Process) มันไม่ใช่กระบวนการ แต่มันคือวิธีคิด(Mindset)ในทำงานแห่งอนาคต คือวิธีคิดของทำงานระหว่างคนและการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สิ่งที่ทางคุณแอรี่พูดย้ำเสมอ (ประมาณ 20 ครั้งได้ คือ คนและการสื่อสาร)

1. Empowerd People : ให้ความสำคัญคน ให้อำนาจการตัดสินใจ ยกตัวอย่างเช่น เจ้าของร้านขายเสื้อผ้า ให้ความสำคัญและอำนาจในการตัดสินใจของพนักงานหน้าร้าน โดยให้สามารถตัดสินใจเปลี่ยนแบบเสื้อผ้าให้กับตัวหุ่นตั้งโชว์ได้เอง เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากกว่าที่จะรอการอนุมัติจากส่วนกลางหรือเจ้าของร้าน เพราะว่าคนที่อยู่หน้างานก็จะเข้าใจสถานการณ์และมีข้อมูลมากกว่า

2. Face to face communication : ให้ความสำคัญกับการสื่อสารซึ่งๆหน้ากันอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องมือ Email, โปรแกรมส่งข้อความ คุณแอรีย้ำว่าการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือการสื่อสารที่คุยกันซึ่งๆหน้า รวมถึงเมื่อหัวหน้างานได้ให้อำนาจการตัดสินใจแล้ว ก็ยังจำเป็นต้องคุยบ่อยๆ และสม่ำเสมอ เพื่อรวมกันหาทางออกใหม่ๆ อีกทั้งร่วมมือกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Agile มีข้อเสียบ้างไหม?

มี...เนื่องจากต้องเน้นการปฎิสัมพันธ์และเจอกันบ่อยๆ ทำให้อาจจะมีปัญหาเรื่องการหาเวลาว่างให้ตรงกันยาก

เมื่อนำ Agile ไปปรับใช้งาน จะรู้ได้อย่างไรว่าดีขึ้น?

หัวใจของการทำงานแบบอไจล์ เมื่อนำไปปรับใช้แล้วจะมี 3 อย่างดีขึ้น คือ
1. คุณค่าของ Product หรือคุณค่าของงานเพิ่มมากขึ้น
2. ทำงานแบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Efficiency)
3. คุณภาพดีขึ้น(Efficiency) เพราว่าขั้นตอนการทำงานลดลง

เราจะเริ่มใช้ Agile ได้ยังไงในองค์กรได้อย่างไร?

คุณแอรีตอบกว้างๆว่า
1. เปลี่ยนกรอบความคิด (Mindset)
2. เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร (Culture)
3. เปลี่ยนตัวเอง (Yourself)

อนาคต Agile จะเป็นอย่างไรต่อไป?

คุณแอนรีตอบว่า เค้าไม่รู้หรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่เค้ามีวสัยทัศน์อย่างนึงที่เชื่อมั่นว่า Agile จะเป็นการทำงานปกติแบบใหม่ที่เกิดขึ้น (New NORM) ในอนาคต

องค์กรต้องให้ความสำคัญ 4 ข้อ ด้านซ้ายของ Agile Manifesto มากกว่าการทำงานแบบเดิม คือให้ความสำคัญกับคน การปฎิสัมพันธ์ซึ่งๆหน้า รวมถึง Feedback อย่างสม่ำเสมอ และตอบรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

คุณแอรี่พูดว่า เค้าไม่รู้ว่าอนาคตของ Agile จะเป็นอย่างไร แต่แน่ๆที่รู้ Agile จะกลายเป็นสิ่งปกติในการทำงานแห่งอนาตต หมายความว่าถ้าคุณยังไม่เข้าสู่ในสิ่งปกติแบบนี้ มีโอกาสที่ตัวคุณเองหรือองค์กรจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นี่คือคำฟันธงของคุณแอรี

อะไรคือ Mindset ที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณในอนาคตที่จะอยู่รอดได้ในความเปลี่ยนแปลง?

คุณแอรีไม่พูดคำว่า Agile และบอกว่าอย่าไปยึดติดกับคำนี้มาก สิ่งสำคัญคือให้ลงมือทำจริง ถ้าตรงตาม 4 ข้อใน Agile Manifesto ก็ถือว่าเป็น Agile แล้ว

คุณแอรี กล่าวทิ้งท้ายเป็นนามธรรมว่า "ถ้าคุณต้องการพัฒนาตัวเอง อย่างเดียวที่คุณต้องทำในตอนนี้ คือคุณต้องเปลี่ยนตัวเองในสิ่งที่ทำแล้วมันไม่เวิร์ค มันอาจจะสำเร็จในแต่ก่อน แต่ปัจจุบันนี้มันไม่เวิร์ค สิ่งที่คุณทำได้คือต้องเดินไปที่หน้ากระจกและถามคนที่อยู่หน้ากระจกว่า คุณจะเป็นคนที่ดีขึ้นได้อย่างไร หรืออย่างน้อยๆ คุณจะสามารถทำสิ่งที่แตกต่างขึ้นเพื่อให้มันดีขึ้นกว่าสิ่งที่คุณทำได้อย่างไร"

Arie van Bennekum (แอรี แวน เบนเนคุ่ม)

Image result for arie van bennekum

"จริงๆแล้ว Agile ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว ไม่ใช่คำศัพท์เท่ๆ ไม่ใช่เครื่องมือ ไม่ใช่กระบวนการ แต่คือวิธีคิด (Mindset) ของการทำงานในอนาคต"

รายชื่อ 17 คนผู้รวมกันก่อตั้งและแถลงอดุมการณ์อไจล์
Agile Manifesto Authors (17 Agile Thought Leaders)
  • Kent Beck
  • Mike Beedle
  • Arie van Bennekum
  • Alistair Cockburn
  • Ward Cunningham
  • Martin Fowler
  • Robert C. Martin
  • Steve Mellor
  • Dave Thomas
  • James Grenning
  • Jim Highsmith
  • Andrew Hunt
  • Ron Jeffries
  • Jon Kern
  • Brian Marick
  • Ken Schwaber
  • Jeff Sutherland

อ้างอิง : THE STANDARD Podcast : The Secret Sauce EP.136 หัวใจที่แท้จริงของ Agile จากผู้คิดค้น Agile Manifesto https://soundcloud.com/thestandardpodcast/the-secret-sauce-ep136

No comments:

Post a Comment