Tuesday, August 20, 2019

คุณประโยชน์ของอไจล์ (Benefits of Agile)

คุณประโยชน์ของอไจล์ (Benefits of Agile)

- Happy Stakeholder
- Enjoyable
- Visibility
- Time to market
- Quality
- High outcome
- Empowered People
- Engagement
- Right Product
- Fun
- Purposeful
- Increased Productivity
- Meaningful

👥 ถ้าบทความนี้มีประโยชน์แก่คุณ แชร์ให้เพื่อนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ได้เช่นกัน

  


Sunday, August 18, 2019

EPIC เป็นเรื่องซีเรียส...(Product Backlog Type)

อภิมหากาพย์...งานช้าง ทำไมถึงเป็นเรื่องซีเรียส?
.
Product Backlog คือ 1 ใน 3 สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากวิธีการทำงานแบบสกรัม(Scrum Framework) 
.
.
ปุจฉา...แล้ว Product Backlog มันคืออะไร?
วิสัชนา...คืองานคงค้างที่ต้องทำให้เสร็จเพื่อให้ความคิด (Idea) สามารถเปลี่ยนเป็น Product ที่ใช้งานได้จริง (เอกสารไม่ถือว่าเป็น Product ที่ใช้งานได้จริงนะครับ)
.
.
Product Backlog แบ่งออกเป็นกี่ประเภท?
แบ่งได้เป็น 3 ประเภท (อ้างอิง Scrum Inc.)

1. Theme
ถ้า Product Owner ส่ง Theme เข้าสปรินต์ (Sprint) เหมือนแทบจะโยนงานทั้ง Product/Project เข้าสปรินต์ (Sprint) ไม่ต่างกับการทำงานแบบเก่า (Waterfall) 

2. Epic
ถ้า Product Owner ส่ง Epic เข้าสปรินต์ (Sprint) นี่คือการโยน Feature เข้าไปในสปรินต์ (Sprint)  3-6 เดือนน่าจะเสร็จ การทำงานจะกลายไปเป็น Mini-waterfall

3. User story
เป็นชนิดของ Product backlog ที่เล็กที่สุดในบรรดา 3 ประเภท แต่...Product Owner ยังต้องถามทีมว่า User Story ขอบเขตของเนื้องาน (Scope of work - SOW) มีขนาดใหญ่เกินไปในสปรินต์หรือไม่? ถ้ายังใหญ่ต้องแบ่ง (Split) User story ให้ได้ครับ

###ถ้าบทความนี้มีประโยชน์แก่คุณ แชร์ให้เพื่อนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ได้เช่นกัน








ความเป็นมาของ...กัมบัง (Kanban)

กัมบัง...เครื่องมือในการสร้างภาพ (Kanban Framework)

โตโยต้า...บริษัทรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์รถยนต์ที่มีมูลค่าสูงสุด 7 สมัยซ้อน (2012-2019) แซงหน้า GM ของประเทศอเมริกาได้อย่างไร...

ย้อนกลับไปในปี 1940 วิศวกรโตโยต้าได้ไปดูงานรถยนต์ฟอร์ดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาได้แวะร้านของชำซึ่งอยู่ใกล้ที่พัก วันนึงเขาเริ่มสังเกตเห็นว่าสินค้าที่ขายไปจากชั้นวางพนักงานที่ร้านรู้ได้อย่างไรว่าจะต้องนำมาเติมจำนวนเท่าไร โดยไม่เข้าไปเช็คจำนวนที่ชั้นวางเลย
.
.
วันต่อมาวิศวกรโตโยต้าได้ตัดสินใจถาม พนักงานขายตอบว่า "สินค้าทุกชิ้นจะมีสลิปกำกับไว้ เมื่อถึงเวลาเติมสินค้าก็จะเอาสลิปนี้ไปเบิกจากคลังสินค้าแล้วเอามาวางที่ชั้น"....นั้นแหละครับ จุดกำเนิดกัมบังได้เริ่มขึ้น และกลายเป็นหัวใจของระบบการผลิตโตโยต้า (Toyota Production System : TPS) ที่เป็นแรงขับเคลื่อนบริษัทจากญี่ปุ่นก้าวขึ้นเป็นผู้นำรถยนต์ของโลก
.
.
กัมบัง (Kanban) เป็นกลไกที่ส่งสัญญาณให้กระบวนการถัดไปเริ่มงาน...พร้อมทั้งดึงวัตถุดิบถัดไปเข้ามาทำ (Pull System)
.
.
กัมบัง (Kanban) มีกฏอยู่ 3 ข้อด้วยกัน
1. Visualize the flow : Flow การทำงานของระบบให้เห็นออกมาเป็นภาพเด่นชัด
2. Work In Progress (WIP) : แต่ละเลน(Lane) ต้องระบุจำนวนงาน เพื่อให้เกิด Flow
3. Measure lead time : วัดระยะเวลาของงาน 1 งานตั้งแต่ต้นจบจบกระบวนการเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น


###ถ้าบทความนี้มีประโยชน์แก่คุณ แชร์ให้เพื่อนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ได้เช่นกัน


อ้างอิง
https://auto.mthai.com/news/89708.html
http://www.glurgeek.com/education/kanban-%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87/













สกรัม 3 : 5 : 3 = 11

สกรัม 3 : 5 : 3 คืออะไร?.....

โครงสร้างของ Scrum ประกอบไปด้วย 11 ส่วน (3:5:3)
(3 Roles : 5 Scrum Events : 3 Artifacts)

3 Roles (3 บทบาทหน้าที่)
- แต่ละบทบาทหน้าที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ Scrum team ขาดคนใดคนหนึ่งไม่ได้

1. Product Owner (PO) : ทำหน้าที่ดูแลภาพรวมของโปรดักส์ เรียงลำดับความสำคัญของ Backlog สื่อสารกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวของกับโปรดักส์ รวมถึงลูกค้าด้วย

2. Scrum Master (SM) : ทำหน้าที่มอบคุณค่าของ Scrum ให้กับ Scrum Team ให้ได้มากที่สุด เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงการทำงานของทีมให้ดียิ่งขึ้นเสมอ (Kaizen)

3. Development Team (Dev Team) : ประกอบไปด้วยทีมงานที่ช่วยกันพัฒนาโปรดักส์และใส่ใจคุณภาพที่ส่งมอบให้กับลูกค้า

เราเรียกทั้งหมดว่า "สกรัมทีม" (Scrum Team)

5 Scrum Events (5 เหตุการณ์ในสปรินต์)
- เรียกง่ายๆว่าประชุมที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาการทำงาน (Sprint) แต่ละเหตุการณ์จะมีกำหนดเวลาโดยที่สกรัมทีมจะต้องรักษาเวลาการประชุมห้ามเกินกำหนดเวลาของเหตุการณ์นั้น (Time boxing)

1. Sprint : รอบระยะเวลาการทำงาน

2. Sprint Planning : เป็นการประชุมของสกรัมทีมเพื่อวางแผนงานที่จะทำในสปรินต์

3. Daily Scrum : สกรัมทีมประชุมกันทุกวันตลอดระยะเวลาในสปรินต์ หรือเรียกอีกชื่อนึงว่า Stand up meeting ระยะเวลาไม่เกิน 15 นาที มีกฎอยู่ว่า สถานที่เดิม เวลาเดิม

4. Sprint Review : เป็นการประชุมที่ทีมงาน (Development Team) โชว์งานที่ทำเสร็จในสปรินต์ให้ Product Owner ได้ดูและตรวจสอบ รวมถึงรับ Feedback จากผู้ที่เกี่ยวของกับโปรดักส์

5. Sprint Retrospective : (Kaizen) เป็นการประชุมที่สำคัญต่อการสกรัมทีมเพื่อช่วยกันปรับปรุงการทำงานภายในทีมให้ดีขึ้น

(Optional) Backlog Refinement : เป็นการประชุมทีมเพื่อช่วยกันเข้าใจ Product Backlog และทำ Product Backlog ให้พร้อมที่จะเข้าสปรินต์


3 Artifacts (3 สิ่งประดิษฐ์)
- 3 สิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่า (The value of the 3 outputs) ที่เกิดจากการใช้ Scrum

1. Product Backlog

2. Sprint Backlog

3. Product Increment

#ถ้าบทความนี้มีประโยชน์ คุณสามารถแชร์บทความนี้เพื่อประโยชน์แก่เพื่อนๆได้เช่นกัน







Wednesday, August 14, 2019

ใครว่า Scrum เป็นแค่เรื่องการพัฒนาซอฟแวร์

ใครว่า Scrum เป็นแค่เรื่องการพัฒนาซอฟแวร์
.
.
สกรัมเครื่องมือที่ทรงพลัง...สำหรับการพัฒนาโปรดักส์
.
ย้อนกลับไปในปี 1986 (33 ปีที่แล้ว ปัจจุบันปี 2019)
ศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่น 2 คน คนแรกชื่อว่า ฮิโรทากะ (Hirotaka Takeuchi) คนที่สองชื่อว่า อิคิจิโระ (Ikujiro Nonaka) (ผู้เขียน:อาจจะแปลชื่อญี่ปุ่นไม่ตรงกับหลักการออกเสียง) ได้ทำการศึกษาและค้นพบวิธีการพัฒนาโปรดักส์แบบใหม่ ชื่อว่า "New New Product Development Game" ช่วยให้การสร้างโปรดักส์ได้รวดเร็วขึ้นอีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นมากกว่าแบบเก่า อาจารย์ 2 ท่านมีแรงบันดาลใจจากกรณีศึกษาในแวดวงอุตสาหกรรมรถยนต์, เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องพิมพ์
.
ผลงานวิจัยถูกตีพิมพ์ลงวารสารฮาวาร์ดบิสซิเนสรีวิว (Harvard Business Review) ในปี 1986
.
.
ในปี 1993 เจฟ ซัทเธอร์แลนด์ (Jeff Sutherland) ได้นำผลงานวิจัย "New New Product Development Game" มาทำงานศึกษาเพิ่มเติม และยังมีหลายงานวิจัยที่ได้ถูกนำมาผนวกรวมกันและเรียกมันว่า "SCRUM" 
ปี 1995 เจฟ ซัทเธอร์แลนด์ (Jeff Sutherland) และ เคน ชเวเบอร์ (Ken Schwaber) ได้ทำการแถลงในงานคอนเฟอร์เรนซ์ (Conference) OOPSLA 1995 
.
.
นับตั้งแต่นั้น...เป็นจุดเริ่มต้นของ Scrum และทั้ง เจฟ ซัทเธอร์แลนด์ (Jeff Sutherland) และ เคน ชเวเบอร์ (Ken Schwaber) ยังได้เป็น 2 ใน 17 ผู้ก่อตั้งคำแถลงการอไจล์ (Agile Manifesto)
.
.
Scrum เริ่มนำมาใช้เพื่อเป็น Framework ในการแก้ปัญหาการพัฒนาซอฟแวร์แบบเดิม (Waterfall)เป็นอุตสาหกรรมแรก แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ได้อยู่แค่ในอุตสาหกรรมการพัฒนาซอฟแวร์อย่างเดียว ยังมีอีกหลายอุตสากรรมที่เริ่มนำ Scrum ไปปรับใช้งาน โดยดูได้จากรายชื่อลูกค้าของเจฟ ซัทเธอร์แลนด์ (Jeff Sutherland) ที่เข้าไปทำเรื่องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นอไจล์ (Agile Transformation) ตามรายชื่อบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านล่างนี้

Jeff Sutherland's experience as consultant to the world's leading companies. Their experience can help make your Scrum implementation world class. Jeff's clients where he has onsite experience with Agile transformations include SAP, Simplivity, GE Digital, Massachusettes Institute of Technology, Johnson & Johnson, Capital One, 3M, BBC, Cisco, Salesforce.com, Workday, Macy’s, Walmart, Ericsson, Visa, Stubhub, Symantec, Intuit, Twitter, Paypal, Citrix Online, Google, Yahoo, Microsoft, IBM, Oracle, MySpace, Adobe, GE, Siemens, Disney Animation, BellSouth, Nortel, Alcatel-Lucent, EMC, GSI Commerce, Ulticom, Palm, St. Jude Medical, DigiChart, RosettaStone, Healthwise, Sony/Ericsson, Accenture, Trifork, Systematic, Exigen Services, SirsiDynix, Softhouse, Philips, Barclays Global Investors, Constant Contact, Wellogic, Inova Solutions, Medco, Saxo Bank, Xebia, Insight.com, SolutionsIQ, Crisp, Johns Hopkins Applied Physics Laboratory, Unitarian Universalist Association, Motley Fool, Planon,itter, Paypal, FinnTech, OpenView Venture Partners, Jyske Bank, BEC, Camp Scrum, DotWay AB, Ultimate Software, Scrum Training Institute, AtTask, Intronis, Version One, OpenView Labs, Central Desktop, Open-E, Zmags, eEye, Reality Digital, DST, Booz Allen Hamilton, Scrum Alliance, Fortis, DIPS, Program UtVikling, Sulake, TietoEnator, Gilb.com, WebGuide Partner, Emergn, NSB (Norwegian Railway), Danske Bank, Pegasystems, Wake Forest University, The Economist, iContact, Avaya, Kanban Marketing, accelare, Tam Tam, Telefonica/O2, iSense/Prowareness, AgileDigm, Highbridge Capital Management, Wells Fargo Bank, Deutsche Bank, Hansenet/Alice, GlobalConnect, U.S. Department of Defense, Agile Lean Training, EvolveBeyond, Good Agile, Océ, aragostTRIFORK, Harvard Business School, Schuberg Philis, ABN/AMRO Bank, Acme Packet, Prognosis, Markem-Imaje International, Sonos, Mevion, Autodesk, First Line Software, SCRUMevents, UPC Cablecom, NIKO, CWS-BOCO, BottomLine, Lean Enterprise Institute, Liberty Global, Monster, Dartmouth University, Health Leads, Samsung R&D Center, Monster.com, Grameen Foundation, Diplomat, Silicon Valley Leadership Network, Raytheon, Fidelity, John Deere, Mass IT, HP, Lockheed, Saab Defense, European Union, EduScrum.com. As the inventor of Scrum, he has done training for at least 1000 more companies. This breadth of experience adds significant depth to his training.
.
.
.
สกรัมคือเครื่องมือในการพัฒนาโปรดักส์ (Scrum is development framework) ที่...
  • น้อยๆไม่ซับซ้อน (Lightweight)
  • เข้าใจง่าย (Easy to understanding)
ยากที่จะใช้งานได้เชี่ยวชาญ (But, Hard to be master!)
.
.
กฎของ Scrum เพื่อเข้าใจง่ายๆ สรุปได้ดังนี้
1. รอบการทำงานไม่เกิน 30 วัน เราเรียกรอบการทำงานว่า "สปรินต์" (Sprint)
2. ห้ามขยายระยะเวลาการทำงาน (สปรินต์), No extension.
3. ทุกๆการประชุมของสกรัม (Scrum Events) จะมีเวลาควบคุมเสมอ (Time boxing)

###ถ้าบทความนี้มีประโยชน์แก่คุณ แชร์ให้เพื่อนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ได้เช่นกัน

อ้างอิง
https://medium.com/@warren2lynch/the-brief-of-history-of-scrum-15efb73b4701
https://www.techwell.com/techwell-insights/2012/10/brief-history-scrum
https://www.thescrummaster.co.uk/scrum/short-history-scrum/
https://www.scrumalliance.org/community/profile/jsutherland
https://www.scrumguides.org/scrum-guide.html#purpose












สกรัม...วิธีการทำงานเพื่อให้อไจล์เป็นจริง (Scrum Framework)

สกรัม...วิธีการทำงานเพื่อให้อไจล์เป็นจริง (Scrum Framework)
.
.
ปี 1993 (26 ปีที่แล้ว) บริษัทซอฟแวร์ที่ชื่อ Easel Corporation ต้องการที่จะพัฒนาซอฟแวร์ตัวใหม่เพื่อทดแทนซอฟแวร์ตัวเดิมที่ใช้มานาน โดยมีกำหนดว่าต้องเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือนเท่านั้น
.
.
เจฟ ซัตเธอร์แลนด์(Jeff Sutherland) เผชิญหน้ากับโครงการที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าทำงานแบบเดิม (Waterfall) เนื่องจากเขาเป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานที่ยอดเยี่ยมทางด้านการพัฒนาซอฟแวร์และการออกแบบ กระบวนการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Plan-Do-Study-Act : PDSA) การคิดนวัตกรรมใหม่ และการออกแบบผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่(Skunkworks) ทำให้เป็นแรงผลักดันให้เขาเริ่มออกไปเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ทำงานจากผู้ที่คร่ำหวอดในวงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการค้นคว้าและอ่านงานวิจัยเป็นหลายร้อยฉบับ หนึ่งในนั้นคือ “The New New Product Development Game.” ซึ่งวารสารที่ตีพิมพ์ของ Harvard Business Review โดยผู้เขียนเป็นศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่นที่ทำงานอยู่ที่ Harvard Business School ชื่อว่า Hirotaka Takeuchi ทำให้เขาค้นพบวิธีการทำงานแบบใหม่ที่ชื่อว่า "สกรัม (Scrum)"
.
.
เจฟ ซัตเธอร์แลนด์(Jeff Sutherland) และเพื่อนเขาชื่อว่า เคน ชเวเบอร์ (Ken Schwaber) ได้ริเริ่มนำสกรัม(Scrum) ทดลองใช้กับโครงงานที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ ที่มีเงื่อนไขที่ว่าต้องเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน ของบริษัท Easel Corporation
.
.
ผลปรากฎ....ค่าใช้จ่ายในการทำโครงการน้อยกว่าที่กำหนดไว้ โครงการเสร็จตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ รวมถึงข้อผิดพลาดของซอฟแวร์ก็น้อยลงกว่าเดิมมาก เขาทั้งสองได้ทดลองอีกหลายโครงการในระยะเวลา 2 ปี
.
.
ในปี 1995 เจฟ ซัตเธอร์แลนด์ (Jeff Sutherland) และเคน ชเวเบอร์ (Ken Schwaber) ได้นำเสนอสกรัม(Scrum)ครั้งแรกในงาน "OOPSLA 1995 conference" นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้โลกเริ่มรู้จักคำว่า สกรัม(Scrum) อย่างกว้างขวางหลังจากนั้น และเป็นหนึ่งในเเนวคิดสำคัญที่ทำให้เกิดคำว่า Agile ในปี 2001(6 ปีให้หลัง) สองบุคคลสำคัญอยู่ในกลุ่มผู้แถลงอุดมการณ์แห่งอไจล์(Agile) ที่สกีรีสอร์ทในรัฐยูทาห์








กระบวนการทางความคิดแบบอไจล์ (Agile Mindset)

กระบวนการทางความคิดแบบอไจล์ (Agile Mindset)
.
คน (People)
มอบคุณค่า (Shared Value)
ร่วมมือกัน (Collaboration)
👥 ถ้าบทความนี้มีประโยชน์แก่คุณ แชร์ให้เพื่อนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ได้เช่นกัน








ประวัติความเป็นมาของอไจล์ (Agile History)

ประวัติความเป็นมาของอไจล์ (Agile History)
.
.
2001 ณ สกีรีสอร์ท รัฐยูทาห์ 17 คนรวมตัวเพื่อแก้ไขปัญหาการพัฒนาซอฟแวร์แบบเดิมๆ ที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
.
.
กำเนิดคำแถลงการณ์อไจล์ (Agile Manifesto) 4 ข้อ
.
ปี 2010 หลักการอไจล์ 12 ข้อ ได้เกิดขึ้นเพื่อขยายความคำแถลงการณ์อไจล์
.
.
วันข้างหน้าผมจะมาเล่าเรื่อง Framework ที่ช่วยให้ Agile เป็นจริงได้ให้ฟังครับ (ติดตามตอนต่อไป)