Thursday, July 18, 2019

Sprint Retrospective: Scrum Events ที่ผู้คนส่วนใหญ่ละเลย


หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมผมเปิด Topic แบบนี้ จากประสบการณ์ที่ผมได้เข้าไปทำทีม Scrum ในบทบาท Scrum Master ก็ดี หรือ Agile Coach ก็ดี Scrum Events ที่ผู้คนส่วนใหญ่ละเลยและให้ความสำคัญน้อยที่สุด หรือถ้าต้องเลือก ก็จะยกเลิกเป็นอันดับแรก จากทั้งหมดของ Scrum Events คือ “Sprint Retrospective”
พูดกันง่าย Scrum Events ก็คือ Meeting ที่จะจัดในช่วงระยะเวลา 1 Sprint (1 Sprint = 1-4 Weeks แล้วแต่ความต้องการที่จะ Interact กับลูกค้า หรือ บริบทของธุรกิจในแต่ละประเภท)
Scrum Events ประกอบไปด้วย (4 + 1) ตามรายละเอียดด้านล่าง
1.   Sprint Planning
2.   Product Backlog Refinement (Optional)
3.   Daily Standup
4.   Sprint Review
5.   Sprint Retrospective *


(Credit Picture: https://www.visiontemenos.com/blog/agile-learning-series-scrum)

ณ วันสุดท้ายของ Sprint (Day 10)  ผมจะได้ยินเสียงจากน้องๆ ที่ดูแล Scrum Team ว่า
  • พี่ครับ งานใน Sprint ยังไม่เสร็จ ขอยกเลิก Retro ได้ไหม?
  • พี่ครับ ผมว่า Sprint นี้จบสวยมาก ปิด User Stories ได้หมด ผมว่าทีมดีอยู่แล้ว เลื่อน Retro ไป Sprint หน้าแล้วกันนะครับ?
  • Uhm....วันนี้เราจะทำ Retro สนุกๆ อะไรกันดีนะ Retro การละเล่นไทยดีไหม?
  • เพื่อนในทีมมากันไม่ครบ ผมขอยกเลิก Retro นะครับพี่? 

ผมถามกลับไปว่าทำไมต้องเลื่อน.... คำตอบส่วนใหญ่ที่ได้มาก็จะตอบประมาณ, เวลาไม่พอต้องรีบทำงานที่เหลือ Sprint เก่าให้เสร็จและอื่นๆอีกมากมาย นี่คือหัวข้อที่อยากจะพูดในวันนี้ครับ 
ก่อนอื่นให้ตั้งคำถามและมองย้อนกลับไปว่าทำไมเราเลือก Scrum Framework มาใช้ เราต้องการได้อะไรจากการใช้ Scrum? ถ้าคำตอบของเราคือ การทำงานเป็นทีม (Teamwork) เพื่อส่งมอบ Product ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของเรา เอ้ย!!! ของลูกค้า คำตอบอยู่ด้านล่างแล้วล่ะ.........
ความลับของการใช้ Scrum ก็คือ Shortest feedback loop and keep going to continuous เพื่อหาสิ่งที่ทีมต้องปรับปรุง และคาดหวังให้ดียิ่งขึ้น (ที่ใช้คำว่าคาดหวัง หมายความว่า เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่ทีม  Agreed ร่วมกันว่าจะ Improve จะแก้ปัญหาได้หรือไม่) ผมอยากให้ดูรูปด้านล่าง เป็นรูปจากที่ผมได้อ่านหนังสือ Principle ของ Ray Dalio (ฉายา Steve Job ด้านการลงทุน) นี่คือสิ่งสำคัญที่ Ray ได้แชร์วิธีการที่ทำให้เค้าประสบความสำเร็จใน Bridgewater คือทุกครั้งที่ Ray ได้ทำผิดพลาด เค้าจะหาว่าตัวเค้าเองได้เรียนรู้อะไรจากความผิดพลาดนั้นและสาเหตุคืออะไร วงจรที่ Ray ทำไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ 1 ครั้ง เค้าทำต่อเนื่องจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

(Reference: Principle Book)
Sprint Retrospective ก็เช่นเดียวกันครับ ถ้าเราอยากให้ทีมเริ่มปรับปรุงการทำงานภายในทีมให้ดีขึ้น เราควรจะให้ความสำคัญกับการทำ Retrospective ให้มากที่สุด ผลลัพธ์ที่เราคาดหวังจาก Retrospective คือ Level of improvement  เหมือนในรูปแรกครับ
(Reference: Principle Book)

หลายๆท่านคงรู้จัดแนวคิด PDCA ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม และต่อมาวงจร PDCA ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มากขึ้น เมื่อปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพ อย่าง W.Edwards Deming ได้นำมาเผยแพร่ ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการ วงจรนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “Deming Cycle” ผมจะลองเปรียบเทียบให้เห็นภาพมากขึ้น

Deming Cycle (PDCA)
Scrum
Plan
Sprint Planning
Do
Sprint Backlog
Check/Study
1.     Sprint Retrospective: Team Process
2.     Sprint Review: Product
Act
Improvement on next sprint

ทุกท่านคงเริ่มมองเห็นหัวใจของ Scrum และวิธีการนำมาใช้แล้วใช่ไหมครับ ผมชอบคำคมคำนึงที่ได้มากจาก Podcast (Nopadol Story) ของ ศ.ดร. นภดล ร่มโพธิ์ อาจารย์ชอบพูดเสมอว่า ไม่มีเวลา….แสดงว่าเราไม่ได้ให้ความสำคัญ หมายความว่า ถ้าเราเห็นความสำคัญ เราจะมีเวลาให้กับเรื่องนั้นๆ  ขอให้ทุกท่านโชคดีกับการ Adopt Agile ไปใช้ครับ

_______________________________________________________
อ้างอิง

Ray Dalio
ในปี 1975 คือจุดเริ่มต้นของ Ray Dalio ที่ได้ก่อตั้ง Bridgewater Associates ภายในอพาร์ตเมนต์สองห้องนอนของเขา ณ เมืองนิวยอร์ก สี่สิบปีให้หลัง Bridgewater ได้เติบโตขึ้นจนกลายเป็นเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และนิตยสาร Fortune ยังจัดอันดับให้เป็นบริษัทเอกชนที่มีความสำคัญที่สุดอันดับห้าในสหรัฐอเมริกา และตัวของ Ray Dalio ยังได้รับการยกย่องจากนิตยสาร Time ว่าเป็นหนึ่งในร้อยคนที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก