Tuesday, July 30, 2019

Agile 12 Principles....(ตอนที่3)

Agile 12 Principles.... (ตอนที่3)


Transparency
.
.
ปี 1968 นักวิจัยของบริษัทชื่อ สเปนเซอร์ ซิลเวอร์ (Spencer Silver)
ถูกมอบหมายให้ทดลอง เพื่อให้ได้กาวที่มีความเหนียวแน่นเป็นพิเศษ สำหรับใช้ในการสร้างเครื่องบินผลปรากฏว่า เขากลับได้กาวที่ไม่มีความเหนียวแทน ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถหลุดลอกได้ง่าย โดยไม่มีร่องรอย และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ลองคิดดูตามความเป็นจริงๆถ้าเป็นบริษัทอื่นการค้นพบของ สเปนเซอร์คือสิ่งที่ผิดพลาดและต้องโดนตำหนิ....แต่ไม่ใช่กับบริษัทนี้ สเปนเซอร์ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานของเค้าเองต่อเพื่อนร่วมงาน จากเป้าหมาย "กาวพลังช้าง" กลับกลายมาเป็น "กาวพลังห่วย" 
.
.
สี่ปีต่อมา
ในเช้าวันหนึ่ง อาร์เธอร์ ฟราย (Arthur Fry) นักวิจัยอีกคน ได้เจอปัญหากระดาษคั่นหน้าหนังสือเพลง ปลิวหลุดทุกครั้งที่เปลี่ยนหน้า ระหว่างร้องเพลงในโบสถ์ สิ่งที่ฟรายต้องการคือ อะไรที่มายึดกระดาษติดกับหนังสือ และลอกออกไปใช้ใหม่ โดยไม่ทำให้หนังสือเสียหาย
.
.
จากปัญหานี้ ทำให้อาเธอร์ นึกขึ้นได้ว่าสเปนเซอร์ เคยค้นพบ กาวพลังห่วยขั้นเทพ ได้เมื่อ 4 ปี ที่แล้ว เมื่ออาเธอร์จึงนำมันลองใช้และพบว่า กาวพลังห่วยนี้ มีคุณสมบัติถูกต้องอย่างที่เขาตามหา ทำให้กระดาษโน๊ตติดกับหนังสือได้ และสามารถลอกไปติดซ้ำได้ และไม่ทิ้งรอยคราบ หรือทำความเสียหายให้หนังสืออีกด้วย จากข้อด้อยไร้ประโยชน์ กลายเป็นข้อดีหาที่เปรียบมิได้
.
.
จากการค้นพบครั้งนั้น ทำให้ “กาวพลังห่วย” ได้เกิดเป็นกระดาษโน็ตสีเหลือง ที่ใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยเตือนความจำ นามว่า Post-it เล่ามาถึงตรงนี้หลายคนคงบางอ้อแล้วใข่ไหมครับว่าบริษัทที่เล่ามาคือ 3M นี่แหละคือความโปร่งใสการทำงานของบริษัท 3M
.
.
ฟรายได้รับการยกย่องด้วยตำแหน่งสูงสุดในด้านเทคนิคของบริษัท นั่นคือ นักวิจัยขององค์กร เขาบอกว่า "รางวัลใหญ่สุดของผมก็คือ การได้เห็นผู้คนมากมายชื่นชมและใช้ผลิตภัณฑ์ของผม"
.
.
ภายหลัง 28 ปีของการทำงานกับบริษัท สเปนเซอร์ ซิลเวอร์ ผู้ก่อตั้งร่วมของ Post-it® Notes ได้เกษียณอายุจากบริษัท 3M พร้อมด้วยสิทธิบัตรในสหรัฐฯ มากกว่า 22 รายการภายใต้ชื่อของเขา.
.
ทั้งซิลเวอร์และฟรายได้สิ้นสุดอาชีพการงานของตนเมื่อ 3M ได้รับเกียรติสูงสุดในด้านการวิจัย รวมทั้งได้รับรางวัลต่างๆ มากมายภายในวงการวิศวกรรมระดับสากล.
.
.
Time Management
.
.
กฎของพาร์กินสัน (Parkinson's Law)
“Work expands so as to fill the time available for its completion.”

แปลง่ายว่า "งานจะขยายไปเท่ากับเวลาที่อนุญาตให้มันทำ" ยกตัวอย่างเช่น
.
สมัยเรียนมหาวิทยาลัย อาจารย์ให้การบ้านซึ่งสามารถทำเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ แต่อาจารย์กำหนดเวลาให้ 2 สัปดาห์ นักศึกษาส่วนใหญ่มักจะทำเสร็จในไม่กี่วันสุดท้ายก่อนถึงกำหนดส่ง
.
โปรเจคของบริษัทที่ตั้งไว้ 2 ปีเสร็จ พอถึงใกล้ถึงเวลากำหนดมักจะขยายออกมากกว่า 2 ปี อันนี้ Beyond กว่า Parkinson's Law อีกนะครับ
.
จะเห็นได้ว่า งานถูกขยายออกไปตามเวลาที่กำหนดให้เสร็จ เสมอๆ
.
.
ที่มาของกฎพาร์กินสัน
ไซริล พาร์กินสัน ( Cyril Parkinson ) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ เริ่มสังเกตเห็นแนวโน้มในช่วงที่เขาทำงานอยู่กับหน่วยงานข้าราชการพลเรือน ว่า การปกครองระบบเจ้าขุนมูลนาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง เขาพบอีกว่า ถ้ามอบหมายงานง่าย ๆ ให้พนักงานทำ แต่กำหนดเวลาส่งให้สั้นลงกว่าเดิม งานนั้นก็ดูเหมือนจะง่ายขึ้น เพราะพนักงานสามารถทำเสร็จทันกำหนดอยู่ดี จากผลงานนี้เองทำให้เขาได้รับการยกย่องให้เป็นผู้รอบรู้แห่งศาสตร์การบริหารธุรกิจ.
.
Sustainable Development ใน No.8 ของ Agile Principles สำหรับความคิดผมคือการที่เรากำหนดรอบระยะเวลาทำงานที่เท่าเดิมเสมอเพื่อป้องกัน Parkinson's Law และทำการหา Time Boxing และ Priority Matrix ในแง่ของการทำทีมให้เจอ
.
.
Time Boxing
คือการวางแผนการทำงานล่วงหน้าเพื่อกำหนดเวลาอย่างแน่นอนในการทำงานแต่ละงาน โดยกำหนดช่วงเวลางานแต่ละงานเป็นช่วงๆ หรือ ​Timebox และเมื่อเรามีการกำหนดเวลาที่แน่นอนแล้ว ก็เหมือนกับการกำหนด Dead Line ให้กับงานชิ้นนั้นๆเพื่อให้เสร็จสิ้นตามเวลาที่วางแผนไว้ จะได้ไม่ไปกระทบต่อเวลาของงานชิ้นต่อไป 
.
ใน Scrum เองจะกำหนดระยะเวลาของ Scrum Events ไว้ล่วงหน้าและตายตัวในแต่ละ Srpint และกำหนดขอบเขตช่วงเวลาในแต่ละ Scrum Events ยกตัวอย่าง Sprint 2 weeks
1. Daily Stand up (ไม่เกิน 15 นาที)
2. Sprint Planning (ไม่เกิน 4 ชั่วโมง)
3. Product Backlog Refinement (ไม่เกิน 8 ชั่วโมง)
4. Sprint Review (ไม่เกิน 2 ชั่วโมง)
5. Sprint Retrospective (ไม่เกิน 1.30 ชั่วโมง)
*ปล. ไม่เกินหมายความว่าไม่จำเป็นต้องใช้ครบตามเวลานะครับ
.
.
ทำไมเราต้องกำหนด Time Boxing? ทำไมไม่ขยาย Sprint ตามขนาดของเนื้องานเช่นในช่วงระยะเวลานั้นๆ Sprint 2 Weeks เดือนนี้ เดือนหน้าขอปรับเป็น Sprint 4 Weeks
.
.
ลองคิดตามนะ..ถ้าเราปรับเวลาไปตามใจของทุกคนในทีม เราจะไม่รู้เลยว่าจริงๆแล้วงานที่ทำเหมาะสมกับช่วงเวลานั้นหรือไม่ สุดท้ายทีมจะไม่เกิดการ Reflect แล้วจะหาแพะรับบาปคือเวลาเสมอ จุดนี้ต้องระวังให้มาก การทำ Time Boxing คือการทำสะพานเชื่อมไปหา Priotity Matrix สิ่งผมจะพูดในบทความต่อไปครับ
.
กฎของพาร์กินสันสามารถนำไปใช้กับเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้อีกหลายอย่าง เพียงแค่กำหนดเส้นตายให้กับสิ่งที่ทำ และตั้งใจมุ่งมั่นที่จะทำให้เสร็จตามกำหนดให้ได้ หนึ่งในบุคคลที่ใช้ชีวิตแต่ละวันด้วยการกำหนดเส้นตายให้กับตัวเองคือ สตีฟ จ๊อบส์
.
สตีฟ จ๊อบส์ ให้สัมภาษณ์อยู่บ่อยครั้ง เขามักคิดเสมอว่าวันพรุ่งนี้คือวันสุดท้ายของชีวิต ดังนั้นหากมีสิ่งใดที่สำคัญเขาจะรีบทำทันที และสิ่งใดที่ไม่กล้าทำ เขาจะนึกว่าในเมื่อพรุ่งนี้จะต้องตายแล้ว จะกลัวไปทำไม ความอาย ความล้มเหลว ความผิดหวัง ไม่มีผลอะไรเลยหากต้องตาย
.
.
“Time isn’t the main thing, It’s the only thing”
เวลาไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่มันเป็นเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น - ไมล์ส เดวิส.
.
Focus คือการละทิ้งและหาสิ่งที่สำคัญให้เจอ
.
จ็อบส์เคยออกจากแอปเปิ้ลไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่เมื่อเขาได้กลับมาทำงานที่นี่อีกครั้ง เขาก็พบว่าบริษัทนี้กำลังหลงทาง ในตอนนั้นแอปเปิ้ลมีผลิตภัณฑ์ถึง 350 ชิ้น แต่จ็อบส์มองว่าผลิตภัณฑ์ก็เหมือนกับบริษัทอื่นๆ ไม่มีอะไรโดดเด่นเป็นพิเศษ
.
.
จ็อบส์ตัดสินใจตัดผลิตภัณฑ์ทิ้งไป 340 ชิ้น เหลือเพียง 10 ชิ้นเท่านั้นที่ควรจะให้ความสนใจอย่างจริงจัง จ็อบส์บอกว่าการโฟกัสคือการปฎิเสธไอเดียดีๆ หลายร้อยไอเดีย แล้วเลือกไอเดียที่สำคัญจริงๆเท่านั้น เมื่อเราตัดไอเดียดีๆทิ้ง เราจะได้ไอเดียที่ยอดเยี่ยมที่สุด
.
.
ความคิดเห็นเช่นนี้ของจ็อบส์ถูกสะท้อนให้เห็นตอนที่แอปเปิ้ลกำลังจะทำไอโฟน (iPhone) เครื่องแรกให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนที่จะถูกวางจำหน่าย แต่จ็อบส์พึ่งได้ไอเดียว่าสิ่งที่ควรให้ความสำคัญที่สุดคือหน้าจอ ส่วนประกอบอื่นๆ เป็นเรื่องรอง จ็อบส์จึงบอกทีมงานของเขาให้เริ่มออกแบบไอโฟนกันใหม่
.
จากไอเดียในครั้งนั้นของจ็อบส์ ทำให้แอปเปิ้ลได้สร้างไอโฟนที่ผู้คนนับล้านทั่วโลกได้ใช้กันในปัจจุบัน

คำว่า Continuous Attention นั้น เราทุกคนในทีมตกลงร่วมกันที่จะทำงานที่เราได้มีส่วนร่วมในการแชร์มุมมองความคิดเห็นทั้ง Business, Technical ใน Product Backlog Refinement และ Sprint Planning หมายความว่าทีมงานต้องโฟกัสและละทิ้งในสิ่งที่ไม่จำเป็นที่เกิดขึ้นในระหว่างวัน ตลอดการเดินทางจนกระทั่งจบ Sprint แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ว่าสิ่งที่เราร่วมกันคิดมาด้วยกันมันไปผิดทาง เราก็สามารถยกเลิก Sprint นั้นได้ ประเด็นคือเราละทิ้งสิ่งที่สำคัญแต่น้อยกว่า แล้วหรือยัง
.
.
การวิ่งมาราธอน ถ้าเราไปถามนักวิ่งมาราธอนว่าเหนื่อยไหม?
ทุกคนคงตอบว่าเหนื่อยมาก แล้วถ้าเราถามเค้าว่ามีท้อบางไหม หลายคนของบอกว่าท้อมาก
คำถามถัดไป แล้วมีเทคนิคอะไรที่ทำให้มีกำลังใจไปถึงเส้นชัย? เขาบอกว่ามองเสาไฟฟ้า เขาไม่สนใจว่าเส้นชัยอยู่ที่ไหน แค่มองเสาไฟฟ้าต้นถัดไป พอผ่านไปก็มองหาต้นถัดไปอีก
.
.
เสาไฟฟ้าก็เหมือนเป้าหมายระยะสั้นที่ทำให้เรามีกำลังใจไปต่อ งานในแต่ละ Sprint ก็เช่นกันครับ พยายามหาเสาไฟฟ้าให้เจอครับ

ขอให้โชคดีในการนำ Agile ไปปรับใช้ในองค์กรครับ



ข้อมูลอ้างอิง
(หน้งสือพัฒนาองค์กรและชีวิตด้วยแนวคิด OKRs)
https://bingobook.co/book-summary/steve-jobs/
http://www.ayarafun.com/2011/04/story-of-post-it/
https://www.post-it.co.th/3M/th_TH/post-it-th/contact-us/about-us/
https://www.longtunman.com/13488
https://storylog.co/story/55c1e0c46670de20b48cfd82
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A5_%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%97_%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99
https://missiontothemoon.co/mindset-and-time-management/
https://ahead.asia/2019/01/18/mission-to-the-moon-creative-talk-2019/







No comments:

Post a Comment