.
.
ในตอนเริ่มต้น ย้อนกลับไปในช่วง 10,000 ปีก่อนหน้า
มีอะไรบางอย่างในตัว โฮโม ซาเปียนส์ ที่ทำให้เราปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและเจริญก้าวหน้าได้ดีในสภาวะยากลำบาก ดีกว่าสายพันธุ์อื่นที่ตัวโตและแข็งแรงกว่า เรามีสมองนีโอคอร์เท็กซ์ (neocortex) ที่ช่วยให้เรามีความสามารถในการติดต่อสื่อสารที่ซับซ้อน เราแตกต่างจากสัตว์อื่นเพราะเรามีโครงสร้างของภาษา มีไวยากรณ์ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เราอยู่รอดคือ ความสามารถของเราที่จะร่วมมือกัน พวกเราเป็นสัตว์สังคมชั้นสูงที่มีความสามารถในการอยู่รอดและก้าวหน้าขึ้นอยู่กับความช่วยเหลือของคนอื่น
ลองจินตนาการตามครับ สมมุติว่าเราเอามามนุษย์ไปปล่อยในป่ากับลิง ลองคิดดูว่าใครรอด
- มนุษย์ 1 : 1 ลิง ใครรอด?
- มนุษย์ 10 : 10 ลิง ใครรอด?
- มนุษย์ 100 : 100 ลิง ใครรอด?
- มนุษย์ 1,000 : 1,000 ลิง ใครรอด?
- มนุษย์ 10,000 : 10,000 ลิง ใครรอด?
ความสามารถของเราที่จะทำงานร่วมกัน ที่จะช่วยเหลือและปกป้องกันและกันนั้นทำงานได้อย่างดี ดีจนมากกว่าเราทำได้แค่อยู่รอด
.
.
วงกลมแห่งความปลอดภัย
.
มีสิงโตตัวหนึ่งที่มักจะเดิน ด้อมๆ มองๆ อยู่แถวๆ ทุ่งหญ้า ที่มีวัวอาศัยอยู่ 4 ตัว หลายๆครั้งที่สิงโตพยายามจะโจมตีพวกมันแต่เมื่อสิงโตเข้ามาใกล้ พวกมันจะส่งสัญญาณให้กันและเอาหางชนกันทำให้ไม่ว่าสิงโตจะเข้ามาจากทางไหนก็จะเจอเขาแหลมคมของวัวเสมอ แต่จนวันหนึ่งพวกวัวก็ทะเลาะกันเองและแต่ละตัวก็แยกกันเล็มหญ้าตามมุมต่างๆของทุ่งหญ้า นับตั้งแต่วันนั้นสิงโตก็เข้ากินพวกวัวทีละตัวและกินมันหมดทุกตัวในที่สุด
-นิทานอีสป หกร้อยปีก่อนคริสตกาล-
..
เดวิท มาร์เควท (David Marquet) เคยเป็นนักขับเรือดำน้ำอาชีพ เขาจบการศึกษาด้วยผลการเรียนเกือบเป็นอันดับหนึ่ง จากโรงเรียนกองทัพเรือ เขาเป็นคนฉลาดทีเดียว อันที่จริงจากความฉลาดนี่เองทำให้เค้าไต่ระดับอย่างรวดเร็วในกองทัพเรืออเมริกา
.
กองทัพเรือก็เหมือนกับองค์กรอื่นๆ อีกมากมาย พวกเขาให้รางวัลคนฉลาดที่มุ่งสู่เป้าหมายเสมอด้วยการยอมรับและการเลื่อนตำแหน่ง เพราะแบบนั้นเรือเอกมาร์เควทได้รับการยอมรับและได้รับเกียรติสูงสุดเท่าที่จะมีได้ เขากำลังจะได้เป็นกัปตันของ USS Olympia เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์โจมตีเร็ว หมวด Los Angeles
เพื่อเป็นการเตรียมตัวสำหรับงานใหญ่ เรือเอกมาร์เควทใช้เวลาเป็นปีเพื่อศึกษาระบบและข้อมูลส่วนตัวของลูกเรือของ Olympia แต่ละคน เขาทำงานหนัก รู้จักสายไฟทุกเส้น สวิตซ์ทุกอัน เหมือนคนจำนวนมากที่มีอำนาจควบคุม เขารู้สึกว่าเขาต้องรู้ให้มากเท่ากับหรือมากกว่าลูกเรือคนอื่นถึงจะเป็นผู้นำที่เชื่อถือได้
.
สองสัปดาห์ก่อนหน้าที่จะได้คุมเรือ Olympia เขาได้รับโทรศัพท์เปลี่ยนแปลงจากผู้มีอำนาจ เขาจะไม่ได้คุมเรือ Olympia แล้ว แต่จะได้คุมเรือ USS Santa Fe แทน ซึ่งเป็นเรือดำน้ำหมวด Los Angeles เหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปคือ ลูกเรือของ Santa Fe ทุกคนอยู่อันดับท้ายๆในด้านความพร้อม ในขณะที่ลูกเรือ Olympia คือที่สุดแล้วของลูกเรือ
.
และในวันที่ 8 มกราคม ปี 1999
เรือ Santa Fe ได้แล่นออกจากท่าเรือ Pearl Harbor ในฐานะเรือที่ใหม่สุดของกองทัพเรือ เรือ Santa Fe มีเครื่องมือจำนวนมากที่ต่างจากสิ่งที่เรือเอกมาร์เควทได้ฝึกมาสำหรับเรือ Olympia และอย่างที่ปรากฎเสมอมา นิสัยเก่าๆ มักจะแก้ยาก แทนที่จะถามคำถามเพื่อช่วยให้ตัวเองได้เรียนรู้จากลูกเรือมากขึ้น เพื่อเติมเต็มช่องว่างในสิ่งที่เค้าไม่รู้ เรือเอกมาร์เควทเก็บความจริงนี้ไว้กับตัวเอง และเลือกที่จะทำสิ่งที่เขารู้ดีที่สุดคือเริ่มออกคำสั่ง
.
วันต่อมาในทะเล เรือเอกมาร์เควทตัดสินใจที่จะเริ่มลองการฝึก การฝึกลำดับที่ 1 ผ่านไป แต่เรือเอกต้องการกดดันลูกเรือของเขามากกว่านั้น เพื่อที่จะดูว่าเขาจะทำอย่างไรเมื่อมีแรงกดดันมากขึ้น เขาให้คำสั่งง่ายๆกับเจ้าหน้าที่ประจำเรือ คนที่ควบคุมทิศทางและมีประสบการณ์มากที่สุดบนนั้น "ไปข้างหน้าสองในสาม" เจ้าหน้าที่ประจำเรือรับคำสั่งจากกัปตันและทวนเสียงดังสั่งให้คนขับเรือเร่งความเร็วขึ้นอีก "ไปข้างหน้าสองในสาม" เขาพูดกับคนขับพวงมาลัย แต่ไม่มีสิ่งใดเกิดขี้น เรือดำนำ้ยังคงความเร็วเท่าเดิม
.
เรือเอกมาร์เควทละสายตาจากกล้องดูเหนือน้ำและหันไปหา "คนขับพวงมาลัย" ที่กำลังบิดตัวไปมาอย่างอึดอัด เรือเอกมาร์เควทตะโกนถาม "มีปัญหาอะไร?" กะลาสีหนุ่มตอบกลับมาว่า "ท่านครับมันไม่มีปุ่มสองในสามครับ" เรือลำนี้ไม่เหมือนกับลำอื่นที่เรือเอกมาร์เควทเคยผ่านมา เรือที่ใหม่อย่าง Santa Fe ไมได้มีปุ่มสองในสามสำหรับมอเตอร์ที่ใช้แบตเตอรี่
.
เรือเอกมาร์เควทหันไปถามผู้ควบคุมทิศทางซึ่งอยู่บนเรือลำนี้มากกว่าสองปีแล้วว่า "เขารู้ไหมว่ามันไม่มีปุ่มสองในสาม" รู้ครับท่าน เรือเอกมาร์เควทถามเขาอีกว่า "แล้วทำไมคุณถึงออกคำสั่งล่ะ?"
"เพราะคุณบอกให้ผมทำแบบนั้น" เจ้าหน้าที่ตอบ
.
จุดนั้นเองที่เรือเอกมาร์เควทถูกบังคับให้เผชิญหน้ากับความเป็นจริงของสถานการณ์ :
- ลูกเรือเขาถูกฝึกมาให้ทำตามคำสั่ง
- เขาถูกฝึกมาสำหรับเรือดำน้ำอีกลำ
หากว่าถูกคนทำตามคำสั่งเขาอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อนั้นสิ่งที่เลวร้ายมากอาจเกิดขึ้น
.
.
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อผู้นำทำพลาดในวัฒนธรรมที่ผู้นำทำพลาดจากบนลงล่าง? ทุกๆคนจะตกเหวตาย นั่นคือสิ่งที่เรือเอกมาร์เควทได้เรียนรู้
.
เรือเอกมาร์เควทได้เข้าใจว่าบทบาทของผู้นำไม่ใช่การตะโกนออกคำสั่งและรับผิดชอบต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของภารกิจ แต่เป็น
- รับผิดชอบความสำเร็จของสมาชิกลูกเรือแต่ละคน
- มอบความรับผิดชอบแก่พวกเขาและเชื่อว่าพวกเขาจะทำภารกิจคืบหน้าไปได้
- ให้ทิศทางและมอบการปกป้อง
ลูกเรือก็จะทำในสิ่งที่ต้องทำเพื่อทำให้ภารกิจเดินไปข้างหน้า
.
.
สิ่งหนึ่งที่เรือเอกมาร์เควทเปลี่ยนแปลงคือวัฒนธรรมการขออนุญาตไปเป็นวัฒนธรรมแห่งความตั้งใจ เขาได้ห้ามคนในเรือพูดว่า "ขออนุญาต" และถูกแทนที่ด้วยสิ่งที่ง่ายๆ "ท่านครับผมตั้งใจจะเอาเรือลงน้ำครับ" ห่วงโซ่แห่งคำสั่งยังคงอยู่ สิ่งเดียวที่เปลี่ยนแปลงคือด้านจิตใจ คนที่ทำงานตอนนี้มีอำนาจของตัวเองแทนที่จะเป็นเพียงแค่ทำงานที่ได้รับคำสั่งมา
.
เรือเอกมาร์เควท เขาแบ่งปันสิ่งที่เขารู้ ขอให้คนที่มีความรู้ช่วยทำหน้าที่ของพวกเขาและเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ใหม่ในเครือข่าย ผู้นำที่อ่อนแอจะหวงสิ่งเหล่านี้และมีความเชื่อผิดๆว่าความฉลาด ยศ หรือความสัมพันธ์ทำให้พวกเขามีค่า แต่ไม่ใช่กับในองค์กรที่มีวงกลมแห่งความปลอดภัยแข็งแรง ไม่เพียงแต่ผู้นำยินดีที่จะแบ่งปันความรู้ แต่คนอื่นๆก็เช่นกัน ผู้นำคือคนที่กำหนดบรรยากาศ
.
.
เมื่อผู้นำของเราเปิดเผยช่องว่างในเรื่องความรู้และความผิดพลาด ไม่เพียงแต่เรายินดีที่จะช่วยเหลือ แต่เรายินดีที่จะแบ่งปันเวลาที่เราทำผิดพลาดหรือมีบางสิ่งผิด ในวงกลมแห่งความปลอดภัย ความผิดพลาดไม่ใช่สิ่งที่ต้องกลัว ในองค์กรที่ไม่มีความปลอดภัยผู้คนจะปกปิดความผิดหรือปัญหาเพื่อเอาตัวรอด ปัญหาก็คือความผิดพลาดและปัญหาเหล่านั้น ถ้าไม่ได้รับการระบุแล้ว จะสะสมเพิ่มขึ้นและปรากฎมาเมื่อมันใหญ่เกินกว่าจะแก้ได้
.
.
นี่คือสิ่งที่เรือเอกมาร์เควทถูกบังคับให้เรียนรู้ เขาฝืนสัญชาตญาณที่ต้องการควบคุมทุกอย่าง ตอนนี้เขายินดีที่จะมอบให้คนอื่นและเห็นคนอื่นก้าวหน้าในความรับผิดชอบที่ได้รับ ความสัมพันธ์บนเรือดำน้ำแข็งแกร่งขึ้นและวัฒนธรรมโดยรวมของความเชื่อใจและความร่วมมือกันก็พัฒนาขึ้นอย่างมาก ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่ระดับล่างสุดของกองเรือสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นลูกเรือที่เยี่ยมที่สุดในประวัติศาสตร์กองทัพเรือ
.
.
.
จากเรื่องราวที่ผมเล่าโดยเอาเนื้อหาบางส่วนมาจากหนังสือ 2 เล่ม Sapiens: A Brief History of Humankind by Yuval Noah Harari, Leader eat last by Simon Sinek
คงพอจะเห็นภาพในสิ่งที่ Agile Principles ข้อที่ 4,5,6 กำลังจะบอกอะไรเรา
4) Work Together
5) Trust and support
6) Face-to-face conversation
ผมทิ้งคำถามไว้ 4 ข้อเพื่อให้ลองไปคิดดูกันครับ
1. เราเชื่อใจและปกป้องทีมหรือเพื่อนเรา หรือไม่?
2. เราคุยกันผ่าน Chat Application มากกว่าเจอหน้ากันหรือไม่?
3. เราทำงานร่วมกันในทุกๆวันเพื่อแชร์ข้อมูลกันและกัน ยกตัวอย่างเช่น Business Knowledge, Technical Knowledge หรือไม่? หรือเราแค่ส่งอีเมลถามกันทั้งที่นั่งทำงานอยู่ฝั่งตรงข้ามกัน
4. เรา Blame กันและกันเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นหรือไม่?
Quote ดีดีของเรือเอกมาร์เควท
"เป้าหมายของผู้นำคือไม่ออกคำสั่งใดๆ ผู้นำต้องให้ทิศทางและความตั้งใจและปล่อยให้คนอื่นค้นหาสิ่งที่ต้องทำและวิธีที่จะไปถึงให้ได้"
แล้วทีมงานคุณหรือองค์กรคุณมี Agile Mindset แล้วหรือยัง...
No comments:
Post a Comment