Saturday, October 12, 2019

[Product Owner Series] : Planning for business agility

Planning for business agility (วางแผนเพื่อความคล่องตัวทางธุรกิจ)

1. Planning for value
อไจล์มองที่คุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า โดยที่โฟกัสคุณภาพของโปรดักส์
.
2. Planning Horizons (การวางแผนงานในแบบอไจล์)
- Operational : Day
- Tactics : Sprint
- Strategy : Quarter
- Visions : Year
.
3. Details Just In Time
วางแผนเพื่อย่อยงานเท่าที่จำเป็น และรู้จักเท่าที่จะใช้งาน ฟังคำนี้แล้วดูงง การประชุมเพื่อวางแผนในแบบอไจล์เราจะไม่ใช้ประชุมเพื่อลงรายละเอียดถี่ยิบตั้งแต่เริ่มสร้างโปรดักส์ PO จะเรียกประชุมเพื่อย่อย Product Backlog เท่าที่จะใช้งาน เรียกการประชุมนั้นว่า Product Backlog Refinement (PBR)
.
👥 ถ้าบทความนี้มีประโยชน์แก่คุณ แชร์ให้เพื่อนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ได้เช่นกัน




[Product Owner Series] : Way of working for business agility...วิถีการทำงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวทางธุรกิจ

คนที่ทำหน้าที่ Product Owner หรือเรียกย่อๆว่า PO ต้องมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. PO & Stakeholders : Why Session
สื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องกับโปรดักส์ (Stakeholders) หรือที่เราเรียกว่า Why Session PO ต้องทำหน้าที่หา Why คือทำไมเราต้องทำโปรดักส์นี้ขึ้นมา เช่น
.
ทำไมเราต้องทำโปรดักส์นี้?
.
เรามองเห็นโอกาสอะไรบ้าง?
.
เราจะวัดความสำเร็จจากการทำสิ่งนี้ได้อย่างไร?
2. PO & Lean Team, End User : What Session
PO และทีมงาน ช่วยกันระดมสมองเพื่อพัฒนาโปรดักส์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า (Customer needed) โดยต้องตอบคำถามให้ได้ว่า...
.
กลุ่มลูกค้าเราคือใคร? (Persona)
.
ลูกค้าต้องการอะไรหรือมันช่วยแก้ปัญหาให้เค้าอย่างไรบ้าง?
.
ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาให้ลูกค้ามี Solution อะไรบ้าง?
3. Lean Team and End Users : How Session
PO อนุญาตให้ทีมงานสื่อสารกับลูกค้าเพื่อเก็บข้อมูลความต้องการของลูกค้ามาสร้างโปรดักส์
.
ทำอย่างไรให้มันใช้งานได้ง่ายและเหมาะสมที่สุด?
.
หน้าตาโปรดักส์จะเป็นประมาณนี้ ลูกค้าคิดว่าอย่างไรบ้าง?
นี่คือหัวใจสำคัญที่ PO ควรจะต้องใส่ใจเพราะ PO คือเจ้าของโปรดักส์ที่ส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้าและต่อธุรกิจขององค์กร...อย่าลืม Why, What, How ครับ
.
.
👥 ถ้าบทความนี้มีประโยชน์แก่คุณ แชร์ให้เพื่อนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ได้เช่นกัน


HR For Agile [Series] : Organizational Design for Agile (ออกแบบองค์กรคุณให้เป็นอไจล์)

1. Clear leadership vision and purpose
- ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจน Tell why not how...
2. Teams making data driven decisions
- ทีมตัดสินบนข้อมูลมากกว่าตัดสินบนความรู้สึก ต้องสร้างวัฒนธรรมการตัดสินใจบนข้อมูล
3. Customer centric
- ยึดความพอใจลูกค้าที่ศูนย์กลาง
4. New Agile roles
- สร้างความตระหนักรู้ให้องค์กร โดยมีตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับอไจล์ เช่น Agile coach, Scrum master, Product owner
5. Alignment & autonomy
- ให้อิสระทีมงานในการคิดแก้ปัญหา Solution มากว่าบอกวิธีการ
.
👥 ถ้าบทความนี้มีประโยชน์แก่คุณ แชร์ให้เพื่อนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ได้เช่นกัน



Agile To Be...(การเป็นอไจล์)





1. Iterative Design | over | Big up front Design
ให้เลือกทำการออกแบบเป็นรอบๆ ซ้ำๆ มากกว่า ทำการออกแบบ หรือ วางโครงสร้างแบบใหญ่ๆ หรือ ทั้งหมดในครั้งเดียว ( Big Design Up Front )
2. Experimentation | over | Elaborative Planning
ทดสอบหรือทดลองมากกว่าการวางแผนอย่างรอบคอบ แนวคิดของอไจล์คืออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน VUCA World เพื่อที่จะให้เกิด Fail fast learn fast.
3. Customer feedback | over | Intuition
รับเสียงตอบรับจากลูกค้ามากกว่าใช้สัญชาตญาณหรือคิดเอาเอง
4. Collaborative work | over | One Hero
ทำงานร่วมกันมากกว่าที่จะมีคนเก่งหนึ่งคนในทีม
.
👥 ถ้าบทความนี้มีประโยชน์แก่คุณ แชร์ให้เพื่อนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ได้เช่นกัน

Image may contain: text

Agile Business Value (คุณค่าที่จะได้เมื่อนำอไจล์มาใช้งาน)

1. Decreased Time to market
ลดระยะเวลาการส่งมอบผลิตภัณฑ์
2. Increased Strategic Flexibility
เพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของบริษัทและทีมงาน
3. Increased Quality of Solutions
คุณภาพของผลิตภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น
4. Increased Employee Engagement
เพิ่มความผูกผันระหว่างพนักงานและองค์กร
5. Increased Customer Loyalty
เพิ่มความสามารถในการมัดใจลูกค้า
.
👥 ถ้าบทความนี้มีประโยชน์แก่คุณ แชร์ให้เพื่อนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ได้เช่นกัน

Agile Onion (หัวหอมของอไจล์)

เริ่มจาก...
.
Tools & Processes
เครื่องมือที่จะช่วยให้เราเกิดกรอบความคิดแบบอไจล์ได้ มี 2 เครื่องมือที่เป็นที่นิยม
1. Scrum (สกรัม)
2. Kanban (กัมบัง)
Processes คือ Sprint, Sprint Retrospective, Daily Standup, Sprint Review, Sprint Planning, Product Backlog Refinement
Practices
ไม่มีทางลัดอื่นใดนอกจากต้องลองนำเครื่องมือไปลองใช้งานจริงและปรับปรุงให้เข้ากับบริบทขององค์กรของคุณ (Lean Startup : Build, Measure, Learn)
Principles
หลักงาน 12 ข้อของอไจล์มีเผื่อให้ทำการตรวจสอบว่าสิ่งที่ลงมือทำผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามหลักการ 12 ข้อหรือไม่ ถ้าผลลัพธ์ออกมาไม่ใช่...อาจจะต้องมองย้อนกลับไปเพื่อปรับปรุงการทำงานใหม่อีกครั้ง
Values
คุณค่าที่องค์กรหรือตัวเราเองจะได้ตามคำอุดมการณ์ที่ผู้ก่อตั้งทั้ง 17 คนได้บอกไว้ 4 ข้อว่า
1. คนและการปฎิสัมพันธ์
2. งานที่ใช้ได้จริง
3. ร่วมมือการทำงานกับลูกค้า
4. ตอบรับการเปลี่ยนแปลง
Mindset (กรอบความคิด)
1. People (Empower, Trust, Support)
2. Shared Values (Transparency, Knowledge Sharing, Welcome change)
3. Collaboration (Work together, Reflect & Adjust, Fun)
.
👥 ถ้าบทความนี้มีประโยชน์แก่คุณ แชร์ให้เพื่อนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ได้เช่นกัน









Alignment / Autonomy Leadership (ความเป็นผู้นำสมัยใหม่)

Alignment คือ Objective หรือเป้าหมายที่ผู้นำต้องสื่อสารกับทีมงานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ
.
Autonomy คืออิสระในการทำงานและการตัดสินใจของทีมงาน
.
กลุ่มที่ 1, Low Alignment / Low Autonomy
- กลุ่มนี้เปรียบได้กับผู้นำที่ไม่ได้ให้เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ในการทำงานและการจัดการทำงานของทีมอย่างละเอียด (Micromanaging) จากรูปจะเห็นว่าคนทำงานไปคนละทิศละทาง ไม่มีส่วนร่วมกับงานที่ทำ (รูปเป็นกลุ่มคนทำงานสีเทา)
กลุ่มที่ 2, High Alignment / Low Autonomy
- กลุ่มนี้ผู้นำบอกวิธีการที่ชัดเจนว่าต้องการอะไร (High Alignment) แต่สิ่งที่ผู้นำบอกไม่ได้บอกวิสัยทัศน์แต่บอกที่วิธีการ (Solution) จากรูปบอกว่าให้ไปสร้างสะพาน ทุกคนก็ไปสร้างสะพานตามที่บอกแต่ไม่ได้มีอิสระในการคิดและเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา
กลุ่มที่ 3, Low Alignment / High Autonomy
- กลุ่มนี้ผู้นำไม่ได้บอกวัตถุประสงค์หรือวิสัยทัศน์ให้กับทีมงาน และให้อิสระในการทำงานและตัดสินใจให้กับทีม เหมือนจะดีนะครับ แต่ผลลัพธ์ก็คือทำงานไปคนละทิศละทาง
กลุ่มที่ 4, High Alignment / High Autonomy
- กลุ่มนี้ ผู้นำบอกวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่า "ให้ช่วยกันคิดวิธีหาทางข้ามไปแม่น้ำฝั่งตรงข้าม" สังเกตุการสื่อสารของผู้นำในข้อนี้นะครับว่าไม่ได้บอก Solution หรือวิธีการแก้ปัญหาเลยแต่ให้อิสระทีมงานในการคิดและตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา
.
ปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารของเราให้เป็นผู้นำอไจล์กันครับ
.
คำว่า..ผู้นำทุกคนเป็นได้...แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะเป็นผู้นำ!!
.
👥 ถ้าบทความนี้มีประโยชน์แก่คุณ แชร์ให้เพื่อนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ได้เช่นกัน